วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตอนที่ 70, 7 February 2010 - 09:28 PM

ตอนที่ 70, 7 February 2010 - 09:28 PM
โดย Hi s Tales ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2010 เวลา 15:54 น.
ช่วง นี้ถ้าใครมีโอกาสได้สังเกต จะเห็นได้ว่า ใบหน้าของป้าจะดูอิ่มเอิบ มีความสุขมากเป็นพิเศษ เหตที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ป้าท่านพึ่งจะได้กลับไปที่วัดโพธิ์ ได้ไม่นาน และที่วัดนั้นทำไมถึงทำให้ท่านมึความสุขได้มากเพียงนี้

โดยปกติแล้ว ป้าท่านจะเป็นคนที่ชอบเข้าวัดเข้าวา อาจจะด้วยวัยของท่านป้า ที่ส่วนใหญ่คนอายุเท่านี้ก็จะเริ่มปล่อยวางหันหน้าเข้าวัด มันก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ใบหน้าของท่านก็ยังดูเปล่งปลั่ง ประกอบกับการฉีด
Botox และการฉีด stem cell มันจะช่วยป้าได้มากก็ตามที แต่มันก็คงไม่สำคัญเท่ากับ การได้อยู่เพื่อคิดถึงคนที่เรารัก

วัดโพธิ์ หรือเรียกอย่างเต็มๆ ว่า วัดพระเชตุพน สถานที่แห่งนี้ นอกจากจะเป็นที่ที่ป้าจะมาทำบุญในวันสำคัญทางศาสนาแล้ว มันทำให้ป้าได้นึกถึงใครบางคนที่เป็นที่รักยิ่ง เขาคนนั้นก็คือ คุณน้ำผึ้ง แต่ป้ามักจะเรียกเขาสั้นๆ ว่า คุณผึ้ง เสียมากกว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า น้ำผึ้ง ในภาษาอังกฤษ มันแปลว่า
Honey นั่นเอง

เมื่อท่านป้ารู้สึกคิดถึง นายทหารนายนี้ ป้าก็จะมาที่นี้ทุกครั้ง เพราะวัดแห่งนี้เป็นสถานที่แรกที่ทำให้ ทั้งสอง ได้มาพบกัน

ย้อนกลับไปเมื่อราว 40 ปีก่อนนายทหารหนุ่มอนาคตไกลได้ถูกส่งมาทำภารกิจดูแลท่านป้า และความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ได้ถูกถักถานสานต่อขึ้น หลังจากนั้นไม่ว่าป้าจะออกเดินทางไปที่ไหน ไม่ว่าจะ

ขึ้นเขาลงห้วยก้จะเห็น คุณผึ้ง คอยเป็นเงาดูแลท่านป้าอยู่ไม่ไกล

คุณผึ้ง จัดว่าเป็นทหารศิลปิน เพราะนอกจากจะทำการรบได้ไม่เป็นสองรองใครแล้ว ท่านยังมีความสามารถในการแต่งบทกลอน แต่งเพลง ถ่ายรูปและรวมไปถึงวาดภาพเหมือนตัวจริง

วันเวลาผ่านไปท่านทั้งสองก็สานความรู้จักกันมากขึ้น เรื่อยๆ แม้กระทั่งวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือเวลานอกทำการ เราก็จะได้เห็นทั้งสองออกไปทำกิจกรรมและอยู่ด้วยกันตลอดเวลา บางทีคุณฯผึ้งเองก็มาหาป้าที่บ้านหลังใหญ่ออกบ่อยครั้ง

เหตุการณ์ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มก่อตัวขึ้นตามลำดับ มันทำท่าว่าจะดีมากขึ้นไปเรื่อยๆ มากเสียจนว่าจะที่สามารถยอมตายแทนกันได้ แต่มันก้คงจะดี ถ้าป้าไม่มีเจ้าของตัวจริงอยู่เสียก่อน

เหตุการณ์ทั้งหมดของทั้งคู่อยู่ในสายตาของท่านลุง ลุงอดรนทนเห็นสิ่งที่ป้าผู้ซึ่งเป็นภรรยาทำอยู่อย่างนั้นมาแรมปี ลุงยอมทนให้ทั้งสองไปออกงานที่นิวยอร์กด้วยกันในฐานะคุณผึ้งไปเป็นบอดี้ การ์ดให้ ลุงยอมเก็บความไม่สบายใจ และความเสียใจ กับสิ่งที่ลุงและคนรอบข้างได้มาเล่าให้ฟัง แต่ลุงก็เลือกที่จะเชื่อคำของป้าเสียทุกครั้ง

แต่เส้นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ลุงทนไม่ไหวต้องส่งคุณผึ้งออกไปไกลถึง แคนซัส ซิตี้ ประเทศสหรัฐ เพื่อหวังว่ามันจะเป็นการยุติความสัมพันธ์ของทั้งสองได้ดังสุภาษิตที่ว่า
? รักแพ้ย่อมแพ้ระยะทาง ?

แต่ลุงก็คงลืมไปว่า รักที่แพ้ระยะทางนั่นมันไม่ใช่รักแท้ เพราะหลังจากที่คุณผึ้งถูกส่งตัวให้ไปเรียนต่อหลักสูตรที่ เมืองแคนซัส ได้ไม่นาน ท่านป้าก้ได้บินตามไปหาคุณผึ้ง จุดหมายปลายทางของทั้งสองอยู่ที่ การล่องเรือในแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของที่ประเทศนั่น มันก็คือ สายน้ำ มิซิสซิปปี้

โดยที่ทั้งคู่หารู้ไม่เลยว่านั่นจะกลายเป็นทริปสุดท้ายไปตลอดกาล

หลังจากที่ป้ากลับมาจากที่แคนซัส สิ่งแรกที่ป้ารับรู้ได้ว่าความไม่ชอบมาพากลได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะคำแรกที่ลุงได้พูดให้ป้าฟังหลังจากที่กลีบทริปที่มิสซิสซิปปี้ นั่นก็คือ
? ถ้ารักแท้ไม่แพ้ระยะทาง อยากรู้นักว่ารักแท้ยังจะยังไม่แพ้ความตายอีกหรือไม่ ?

คืนนั้นวันพุธ ที่ 22 พฤษภาคม หลังจากที่คุณผึ้งกำลังเดินกลับจากการออกกำลังกายที่
The Yellow Park สวนสาธารณะที่ไม่ไกลจากบ้านพักรับรองเท่าไร ด้วยความที่ท่านถึงทหารออกศึกมานับไม่ถ้วน ท่านย่อมที่จะเห็นถึงความที่ไม่ชอบมาพากลนี้ เมื่อเป้าหมายปรากฎกาย ชายลึกลับทั้งสามตรงปลี่ไปที่คุณผึ้ง?????? ?..

ฝ่ายท่านป้า ท่านเองก็รู้สึกถึงความประหลาดที่เย็นยะเยือกในคืนนี้ ป้าไม่รอช้าที่จะตรงไปที่บ้านพัก ย่านพหล ฯ ของคุณผึ้งเพื่อที่ต้องการพิสูจน์อะไรบ้างอย่าง สิ่งแรกที่ป้าได้เข้าไปในบ้าน และมองเห็นเมื่อไปถึงนั่น ก็คือ สมุดภาพถ่ายรูปของป้าที่มีดอกเฟื้องฟ้าแห้งเก็บทับอยู่ในสมุดเล่มนั้น ป้าจำมันได้ดีเพราะว่าดอกไม้เหล่านั้นเป็นดอกที่ป้าได้เคยมอบให้ไว้กับเขา

และสิ่งที่ทำให้คืนนั้น ป้าต้องนอนไม่หลับไปอีกหลายคืนก็คือ เศษกระดาษโน็ตที่มีลายมือของคุณผึ้งที่เขียนข้อความไว้ว่า
? สิ่งที่ผมกลัวที่สุดก็คือ พรุ่งนี้ผมตื่นมาแล้วจะไม่ได้เห็นหน้าคุณ ?

แสดงว่า คุณผึ้งต้องรู้อะไรซักอย่างมาก่อนหน้านี้ ป้าไม่รอช้าที่จะส่งโทรเลขไปที่นั่น ป้าใช้เวลารออยู่หลายวัน และแล้วหลังจากที่รอรออยู่หลายวันป้าก็ได้โทรเลขตอบกลับ ใจความว่า
????????.

คุณผึ้งเสียชีวิตแล้ว เมื่อวันพุธที่ 22 พค 2528 จากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น